Tips & Trick จัดการข้อมูลขยะระดับองค์กร และการนำไปใช้

     กว่า 73% ของเสียอันตรายทั่วประเทศไทย มาจากระบบอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการที่เหมาะสมโดยทิ้งกระจายอยู่ภายนอกตามสิ่งแวดล้อมและทิ้งรวมกับขยะมูลฝอย แต่ทว่าไม่ใช่แค่ขยะอันตรายเพียงเท่านั้น ยังมีขยะอีกหลายประเภท ที่ยังมีการจัดการที่ไม่ดีพอ ส่งผลทั้งในเรื่องของการจัดการขยะในองค์กร และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งองค์กรหลายๆ แห่งยังคงใช้การจัดการขยะแบบฝังกลบอยู่ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายในการจัดการขยะที่ควรทำ อย่างไรก็ตามหากมีการคัดแยกขยะแล้ว แต่ไม่มีการจัดการที่ดีพอ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน 

     ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหา อย่าง “แหล่งกำเนิดขยะ” หรือก็คือคนที่ทิ้งขยะ หรือ สร้างขยะขึ้นมานั่นเอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่แหล่งกำเนิดขยะ ในการสร้างการตระหนักรู้ มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะ และมีวิธีจัดการขยะอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังต้องมีการจัดการข้อมูลขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลขยะ คืออะไร?

     ข้อมูลขยะ คือ ข้อมูลที่ได้จากการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จดบันทึก กรอกข้อมูลใส่ระบบ เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อองค์กร หรือหน่วยงาน ได้ทำการคัดแยกขยะ แล้วจดบันทึกข้อมูลของขยะแต่ละประเภท เพื่อแยกไปกำจัด หรือ จัดการอย่างถูกต้อง 

ข้อมูลขยะ สำคัญอย่างไรกับองค์กร

     องค์กร หรือธุรกิจจำเป็นต้องมีกระบวนการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อใช้ในการติดตามและพัฒนาผลการดำเนินงาน ตลอดจนนำข้อมูลผลการดำเนินงานไปเปิดเผยและสื่อสารต่อผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้น ข้อมูลขยะ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงถึงการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ในเรื่องของการจัดการกับของเสีย และการจัดการกับวัสดุรีไซเคิล จัดการกับขยะที่ต้นทาง ลดการกำจัดขยะที่ปลายทาง ลดการปลดกาซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ 

     นอกจากนี้ “ข้อมูลขยะ” ยังมีความสำคัญในเรื่องของการนำไปใช้เพื่อประกอบรายงานการยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กร ที่แสดงถึงค่านิยมและรูปแบบการกำกับดูแลขององค์กร อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์และความมุ่งมั่นในการสร้างเศรษฐกิจโลกที่ยั่งยืน

จัดการข้อมูลขยะด้วย GEPP Platform

     แบ่งข้อมูลขยะที่นำเข้าระบบออกจากกันตามประเภทของการจัดการขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล แยกออกแล้วส่งไปรีไซเคิล ขยะอินทรีย์แยกออกนำไปหมักเป็นปุ๋ย ขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ เนื่องจากไม่สามารถจัดการได้ตามธรรมชาติ แต่วิธีนี้จะเลือกเป็นวิธีสุดท้ายในการจัดการขยะ  ข้อมูลขยะจะถูกบันทึกเข้าระบบ GEPP Plarform แล้วสร้างเป็นรายงานได้ในรูปแบบ PDF 

ตัวอย่างรายงานจาก GEPP Platform

ข้อมูลภาพรวมลงลึกถึงชนิดขยะและวัสดุรีไซเคิล แบบเป็นรายเดือน จาก GEPP Platform

  1. ปกรายงาน ระบุเดือนที่เลือกนำข้อมูลมาใช้งาน

       2. สรุปปริมาณรวมของประเภทขยะ กับวัสดุรีไซเคิล เป็นสัดส่วน และ Trend line เทียบกับเดือนอื่นๆ

       3. สรุปปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมของวัสดุรีไซเคิลเป็นกราฟ และ Trend line เทียบกับเดือนอื่นๆ

4. สรุปปริมาณ วัสดุรีไซเคิลเป็นประเภทหลัก คือ พลาสติก กระดาษ แก้ว ที่ยังไม่แยกเป็นชนิดย่อย

สิ่งที่ได้รับเมื่อร่วมงานกับ GEPP Sa-Ard

ด้านการจัดการ “ขยะ”

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในองค์กรหรือหน่วยงาน ในการคัดแยกขยะ ผ่านการอบรมจาก GEPP Sa-Ard
  2. การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดเวลาในการจัดการ เพิ่มรายได้ มีความสะอาดและความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น

ด้านการจัดการกับ “ข้อมูลขยะ”

  1. นำข้อมูลขยะไปพัฒนาในด้านของการจัดการขยะ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการจัดการขยะไปใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ได้ในกรณีที่เป็นองค์กร หน่วยงาน หรือแบรนด์สินค้า 
  3. นำข้อมูลที่ได้รับจากการจัดการขยะไปประกอบรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report)
  4. รับรายงานที่เป็นมาตรฐานสากล GRI 306:2020 ที่ GEPP Sa-Ard ได้รับเพียงเจ้าเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรุป

     การจัดการข้อมูลขยะ ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรเนื่องจาก “ข้อมูลขยะ” เป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability report) ได้ รายงานความยั่งยืนเป็นช่องทางสำคัญในการดึงดูดผู้ลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจัดการกับข้อมูลขยะ ยังช่วยให้สามารถพัฒนาการจัดการขยะได้อีกด้วย

Relate Content

Tips & Trick จัดการข้อมูลขยะระดับองค์กร และการนำไปใช้
GEPP Sa-Ard X SINGHA แยกแลกเงินกับโครงการ เก็บ “Save” โลก
ลด และ แยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน