ประเทศไทย เมืองแห่งขยะฝังกลบ

ประเทศไทย เมืองแห่งขยะฝังกลบ

ของเสียในหลุมฝังกลบคิดเป็น 13% ของแหล่งปล่อยก๊าซเรือนกระจก สิ่งที่เกิดขึ้นในสถานที่ฝังกลบถือเป็นภัยครั้งใหญ่ที่สร้างผลกระทบเชิงลบต่อสิ่งแวดล้อมเนื่องจากก่อให้เกิดมลพิษต่อแหล่งอากาศและน้ํารวมทั้งสร้างความเป็นกรดอีกด้วย ปัจจุบันในประเทศไทยมีการฝังกลบขยะอย่างถูกกฎหมาย 70 แห่ง แต่บ่อทิ้งขยะก็ยังคงกระจัดกระจายอยู่มากถึง 1,888 แห่งทั่วประเทศ (1)

จากสถิติในตลอด 9 ปีที่ผ่านมา ยังไม่มีข้อมูลที่แน่นัดที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนของขยะที่เพิ่มมากขึ้น กับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงในแหล่งทิ้งขยะฝังกลบ อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ลองเปรียบเทียบกับทฤษฎี และหลักฐานที่มีอยู่ จะเห็นได้กว่า แหล่งทิ้งขยะฝังกลบมากกว่า 70-80% กลับกลายเป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบสำคัญในการจัดการขยะในหลากหลายองค์กร

อะไรคือเหตุผลที่อยู่เบื้องหลังตัวเลขเหล่านี้?

จากประสบการณ์ในการทำงานกับชุมชนต่าง ๆ จากหลากหลายแห่ง และการวิเคราะห์ข้อมูล GEPP สามารถสรุปเป็นประเด็นสำคัญได้ ดังนี้

  1. การทำหลุมขยะฝังกลบยังคงเป็นวิธีที่ช่วยลดต้นทุนในการจัดการขยะได้มากที่สุด เมื่อเทียบกับวิธีอื่น ๆ
  2. การทำขยะฝังกลบมีขั้นตอนการจัดการที่มีประสิทธิภาพได้ตลอดเวลา ซึ่งจะเห็นได้จากบริษัทที่ทำเชื้อเพลิงขยะ และบริษัทประเภท Waste-to-Energy
  3. หากพื้นที่ไหนที่ไม่มีแหล่งทิ้งขยะ การสร้างหลุมฝังกลบขยะในพื้นที่เปิดก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
  4. การทำหลุมฝังกลบขยะยังคงมีปัญหาเรื่องของเจ้าของ และสิทธิในพื้นที่อยู่

 

ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมกับเรื่องนี้ได้อย่างไรบ้าง?

เราไม่สามารถปฏิเสธได้เลยว่า มันคงไม่มีวิธีไหนที่จะลดปัญหาของขยะฝังกลบได้ดีที่สุด อย่างไรก็ตาม การเริ่มเปลี่ยนแปลงแนวคิด และระบบของการจัดการขยะ จะสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับสิ่งแวดล้อมของเราในระยะยาวได้อย่างแน่นอน

  1. ผู้บริโภค และบริษัทต่าง ๆ ควรทำความเข้าใจถึงระบบการจัดการขยะที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  2. สร้าง Network ที่มากขึ้น เพื่อให้ผู้คนสามารถเข้าถึง และเอื้อระบบการจัดการวัสดุที่สามารถนำไปรีไซเคิลให้มากขึ้นได้ เช่น เสื้อผ้าที่ใช้แล้ว เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ และเครื่องใช้ไฟฟ้าสภาพเก่า
  3. สุดท้ายแล้ว การแยกขยะจะต้องอาศัยอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อรวมถึงความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อให้แน่ใจว่าวัสดุที่รีไซเคิลได้สามารถเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพ และเหลือปริมาณที่น้อยที่สุดก่อนที่จะถูกนำไปฝังกลบ

 (1) Pollution Control Department Report, 2021

Relate Content

Tips & Trick จัดการข้อมูลขยะระดับองค์กร และการนำไปใช้
GEPP Sa-Ard X SINGHA แยกแลกเงินกับโครงการ เก็บ “Save” โลก
ลด และ แยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน