Categories
Knowledge

Tips & Trick จัดการข้อมูลขยะระดับองค์กร และการนำไปใช้

     กว่า 73% ของเสียอันตรายทั่วประเทศไทย มาจากระบบอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ยังไม่มีการจัดการที่เหมาะสมโดยทิ้งกระจายอยู่ภายนอกตามสิ่งแวดล้อมและทิ้งรวมกับขยะมูลฝอย แต่ทว่าไม่ใช่แค่ขยะอันตรายเพียงเท่านั้น ยังมีขยะอีกหลายประเภท ที่ยังมีการจัดการที่ไม่ดีพอ ส่งผลทั้งในเรื่องของการจัดการขยะในองค์กร และส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างยิ่ง อีกทั้งองค์กรหลายๆ แห่งยังคงใช้การจัดการขยะแบบฝังกลบอยู่ ซึ่งเป็นวิธีสุดท้ายในการจัดการขยะที่ควรทำ อย่างไรก็ตามหากมีการคัดแยกขยะแล้ว แต่ไม่มีการจัดการที่ดีพอ ก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างยั่งยืน 

     ดังนั้นการแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ การแก้ไขปัญหาที่ถูกต้อง คือ การแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุของปัญหา อย่าง “แหล่งกำเนิดขยะ” หรือก็คือคนที่ทิ้งขยะ หรือ สร้างขยะขึ้นมานั่นเอง โดยเริ่มต้นตั้งแต่แหล่งกำเนิดขยะ ในการสร้างการตระหนักรู้ มีความเข้าใจในการคัดแยกขยะ และมีวิธีจัดการขยะอย่างถูกต้อง อีกทั้งยังต้องมีการจัดการข้อมูลขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อมูลขยะ คืออะไร?

     ข้อมูลขยะ คือ ข้อมูลที่ได้จากการจัดการขยะอย่างเป็นระบบ ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น จดบันทึก กรอกข้อมูลใส่ระบบ เป็นต้น ยกตัวอย่าง เมื่อองค์กร หรือหน่วยงาน ได้ทำการคัดแยกขยะ แล้วจดบันทึกข้อมูลของขยะแต่ละประเภท เพื่อแยกไปกำจัด หรือ จัดการอย่างถูกต้อง 

ข้อมูลขยะ สำคัญอย่างไรกับองค์กร

     องค์กร หรือธุรกิจจำเป็นต้องมีกระบวนการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืน เพื่อใช้ในการติดตามและพัฒนาผลการดำเนินงาน ตลอดจนนำข้อมูลผลการดำเนินงานไปเปิดเผยและสื่อสารต่อผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้น ข้อมูลขยะ ถือเป็นข้อมูลสำคัญที่แสดงถึงการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร ในเรื่องของการจัดการกับของเสีย และการจัดการกับวัสดุรีไซเคิล จัดการกับขยะที่ต้นทาง ลดการกำจัดขยะที่ปลายทาง ลดการปลดกาซเรือนกระจกสู่ชั้นบรรยากาศ 

     นอกจากนี้ “ข้อมูลขยะ” ยังมีความสำคัญในเรื่องของการนำไปใช้เพื่อประกอบรายงานการยั่งยืน (Sustainability Report) เป็นเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ซึ่งถือเป็นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งขององค์กร ที่แสดงถึงค่านิยมและรูปแบบการกำกับดูแลขององค์กร อีกทั้งยังแสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์และความมุ่งมั่นในการสร้างเศรษฐกิจโลกที่ยั่งยืน

จัดการข้อมูลขยะด้วย GEPP Platform

     แบ่งข้อมูลขยะที่นำเข้าระบบออกจากกันตามประเภทของการจัดการขยะ เช่น ขยะรีไซเคิล แยกออกแล้วส่งไปรีไซเคิล ขยะอินทรีย์แยกออกนำไปหมักเป็นปุ๋ย ขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ เนื่องจากไม่สามารถจัดการได้ตามธรรมชาติ แต่วิธีนี้จะเลือกเป็นวิธีสุดท้ายในการจัดการขยะ  ข้อมูลขยะจะถูกบันทึกเข้าระบบ GEPP Plarform แล้วสร้างเป็นรายงานได้ในรูปแบบ PDF 

ตัวอย่างรายงานจาก GEPP Platform

ข้อมูลภาพรวมลงลึกถึงชนิดขยะและวัสดุรีไซเคิล แบบเป็นรายเดือน จาก GEPP Platform

  1. ปกรายงาน ระบุเดือนที่เลือกนำข้อมูลมาใช้งาน

       2. สรุปปริมาณรวมของประเภทขยะ กับวัสดุรีไซเคิล เป็นสัดส่วน และ Trend line เทียบกับเดือนอื่นๆ

       3. สรุปปริมาณก๊าซเรือนกระจกรวมของวัสดุรีไซเคิลเป็นกราฟ และ Trend line เทียบกับเดือนอื่นๆ

4. สรุปปริมาณ วัสดุรีไซเคิลเป็นประเภทหลัก คือ พลาสติก กระดาษ แก้ว ที่ยังไม่แยกเป็นชนิดย่อย

สิ่งที่ได้รับเมื่อร่วมงานกับ GEPP Sa-Ard

ด้านการจัดการ “ขยะ”

  1. สร้างความรู้ความเข้าใจให้คนในองค์กรหรือหน่วยงาน ในการคัดแยกขยะ ผ่านการอบรมจาก GEPP Sa-Ard
  2. การจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ช่วยลดเวลาในการจัดการ เพิ่มรายได้ มีความสะอาดและความเป็นระเบียบมากยิ่งขึ้น

ด้านการจัดการกับ “ข้อมูลขยะ”

  1. นำข้อมูลขยะไปพัฒนาในด้านของการจัดการขยะ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
  2. สามารถนำข้อมูลที่ได้จากการจัดการขยะไปใช้เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในเรื่องของสิ่งแวดล้อม ได้ในกรณีที่เป็นองค์กร หน่วยงาน หรือแบรนด์สินค้า 
  3. นำข้อมูลที่ได้รับจากการจัดการขยะไปประกอบรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report)
  4. รับรายงานที่เป็นมาตรฐานสากล GRI 306:2020 ที่ GEPP Sa-Ard ได้รับเพียงเจ้าเดียวในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

สรุป

     การจัดการข้อมูลขยะ ที่เป็นสิ่งสำคัญสำหรับองค์กรเนื่องจาก “ข้อมูลขยะ” เป็นข้อมูลสำคัญที่นำไปประกอบรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability report) ได้ รายงานความยั่งยืนเป็นช่องทางสำคัญในการดึงดูดผู้ลงทุนและเพิ่มความเชื่อมั่นให้ธุรกิจ อีกทั้งเป็นปัจจัยสำคัญที่กระตุ้นให้แนวคิดการลงทุนที่ยั่งยืน (Sustainable Investment) แพร่หลายอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การจัดการกับข้อมูลขยะ ยังช่วยให้สามารถพัฒนาการจัดการขยะได้อีกด้วย

Categories
Knowledge

GEPP Sa-Ard X SINGHA แยกแลกเงินกับโครงการ เก็บ “Save” โลก

     ปัญหาขยะที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมมักเกิดจากผู้บริโภคที่ไม่ได้คัดแยกขยะ ไม่มีความเข้าใจในการรีไซเคิล และมีการจัดการขยะที่ไม่ถูกต้อง โดยขยะที่ไม่ได้มีการจัดการที่ดีพอมักถูกนำไปฝังกลบรวมกัน ทำให้ใช้เวลาในการย่อยสลายนานนับร้อยปี สิ้นเปลืองงบประมาณและพื้นที่ฝังกลบ นอกจากนี้ ปัญหาการทิ้งขยะพลาสติกกระจัดกระจายทั่วไป มักก่อให้เกิดปัญหาการอุดตันตามท่อระบายน้ำ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหาขยะลอยในแม่น้ำ ลำคลอง บางส่วนไหลลงสู่ทะเล ก่อให้เกิดปัญหาเศษขยะพลาสติกและไมโครพลาสติก พบการแพร่กระจายในทะเลทั่วโลก ส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศทางทะเล

     ด้วยปัญหาเหล่านี้เอง SINGHA ร่วมกับ GEPP Sa-Ard จึงจัดทำ โครงการ เก็บ “Save” โลก ส่งเสริมให้ทุกคนมีความรู้ความเข้าใจในการคัดแยกขยะ และแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิพร้อมสร้างรายได้ให้กับตัวเอง อีกทั้งยังประหยัดค่าใช้จ่ายได้อีกด้วย เพราะนอกจากจะได้รับเงินจากการนำขยะรีไซเคิลมาขายแล้ว ยังได้คะแนนเพื่อนำไปแลกของรางวัลได้อีกต่อด้ว

ราคารับซื้อวัสดุรีไซเคิล

ในการขายวัสดุรีไซเคิลนั้น จะมีเจ้าหน้าที่จาก GEPP Sa-Ard ไปรับวัสดุรีไซเคิลถึงที่ พร้อมให้ราคาที่สูงกว่าตลาดทั่วไป และจะมีการสะสมคะแนนจากการขายขยะพลาสติก โดยอัตราการได้รับคะแนนอยู่ที่ 1 กิโลกรัม ต่อ 10 คะแนน ซึ่งสามารถนำไปใช้แลกของรางวัลได้ตามภาพด้านล่าง

สะสมคะแนนแลกของรางวัล

     สร้างรายได้เสริมง่ายๆ ด้วยการแยกขยะ และขายวัสดุรีไซเคิล คะแนนที่สะสมได้จะนำเข้าสู่ระบบของ GEPP Sa-Ard ผ่านแอปพลิเคชัน GEPP REWARDS ดาวโหลดได้แล้ววันนี้ทั้ง IOS และ Android ทั้งนี้แอปพลิเคชันยังแสดงปริมาณคาร์บอนฟุตปริ้นท์ที่คุณลดได้ และติดตามผลงานการจัดการขยะของตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน

ใครบ้างที่เหมาะกับโครงการนี้

  1. มีขยะพลาสติก หรือวัสดุรีไซเคิลต้องจัดการเป็นจำนวนมาก
  2. ไม่มีเวลาจัดการกับวัสดุรีไซเคิล หรือไม่มีคนมารับ
  3. จัดการวัสดุรีไซเคิลเป็นประจำอยู่แล้ว แต่ต้องการความสะดวกมากขึ้น

หากคุณมีวัสดุรีไซเคิล และพลาสติกมากมาย แต่ไม่มีคนมารับ ขาดแรงกระตุ้น เข้าร่วมโครงการกับเรา

Categories
Knowledge

ลด และ แยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

     “ขยะไม่ใช่ผู้ร้าย” แต่การจัดการต่างหากที่ส่งผลให้ขยะเป็นผู้ร้าย ขยะจะกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า หรือจะกลายเป็นมลพิษ ขยะเหล่านี้สามารถเป็นได้ทุกอย่าง ทั้งวัสดุรีไซเคิล ปุ๋ย หรือแม้กระทั่งพลังงาน ทุกอย่างเริ่มต้นที่การจัดการขยะที่ต้นทาง สามารถช่วยลดภาระงบประมาณ สร้างรายได้ อีกทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะที่ปลายทาง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดขยะอีกด้วย

   กทม. สสส. และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ได้จัดทำโครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นภายใต้แนวคิดการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero-waste), แนวคิดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero-waste school), แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), แนวคิดสำนักงานสีเขียว (Green office)  โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ มกราคม 2566 ถึง มีนาคม 2567

 

มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้

  1. พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภทและระบบข้อมูลกลาง
    พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท, ระบบข้อมูลกลางและการแสดงผล, การจัดการขยะที่ต้นทางในเขตนำร่อง ปทุมวัน และหนองแขม
  2. ส่งเสริมแหล่งกำเนิดลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะ
    ส่งเสริมแหล่งกำเนิดขยะสำคัญในเขตปทุมวันและหนองแขม ได้แก่ โรงเรียน วัด ชุมชน (หมู่บ้านจัดสรร, คอนโดมิเนียม) อาคารสำนักงาน โรงแรม เป็นต้น (ไม่น้อยกว่า 42 องค์กรต่อเขต) ให้เข้าใจและรับรู้ในการแยกขยะจากต้นทาง
  3. พื้นที่ต้นแบบการกำจัดขยะอินทรีย์
    – มีปลายทางรองรับขยะอินทรีย์โดยเฉพาะขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดขยะ ในเขตหนองแขมขนาด 1 ตันต่อวัน
    – กรุงเทพมหานครมีศูนย์สาธิตและแหล่งเรียนรู้การกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการขยะจากต้นทาง

  1. สร้างภาพลักษณ์การเป็นองค์กร/หน่วยงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถนำไปใช้ในการสื่อสารด้านความยั่งยืนขององค์กร (สำหรับผู้ประกอบการ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์)
  2. ลดค่าใช้จ่าย 1) ลดค่ากำจัดขยะ 2) ลดการซื้อวัตถุดิบจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนทรัพยากร
    เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมาปลูกผัก ทำให้ไม่ต้องซื้อผักและได้วัตถุดิบปลอดภัยไร้สารพิษ การทำน้ำยาอเนกประสงค์จากเปลือกผลไม้ เป็นต้น
  3. เพิ่มรายได้จากการขายวัสดุที่ผ่านการคัดแยก
  4. แบ่งปันทรัพยากรให้กับชุมชนรอบข้าง

สิ่งที่องค์กรจะได้รับจากโครงการ

  1. ค่าที่ปรึกษาช่วยจัดอบรมเรื่องการจัดการขยะให้กับคนในองค์กรและให้ความรู้และคำแนะนำแก่คณะทำงาน (ตลอดโครงการ ไม่มีค่าใช้จ่าย)
  2. เชื่อมต่อปลายทางของขยะและวัสดุประเภทต่างๆ ทั้งกรุงเทพมหานครและภาคเอกชน
  3. ได้รับการสนับสนุนป้าย สติ๊กเกอร์ สื่อรณรงค์และวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะ (ตามวงเงินที่กำหนด)
  4. สนับสนุนค่าอาหารว่างจัดประชุม ค่าของที่ระลึกหรือของรางวัลให้กับผู้เข้ารับการอบรม (ตามวงเงินที่กำหนด)
  5. นำข้อมูลการจัดการขยะขององค์กรจาก GEPP Platform ไปใช้จัดทำรายงานหรือนำเสนอเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดย platform จะมีการคำนวณการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะด้วยหลักการโครงการ LESS
  6. แสดงข้อมูลหน่วยงาน/องค์รในเขตนำร่องที่มีการดำเนินการลดและคัดแยกขยะ ในเว็บไซต์โครงการของ กทม.
  7. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากกรุงเทพมหานคร

ประเภทแหล่งกำเนิดขยะที่รับสมัคร
1. สถานศึกษา (สังกัด สพฐ. โรงเรียนเอกชน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) 2.ชุมชนแออัด 3.ชุมชนเมือง (ตึกแถว) 4.ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 5.ชุมชนอาคารสูง (คอนโด แฟลต อพารท์เม้นท์) 6.วัด 7.อาคารสำนักงาน (เฉพาะบริษัทที่เป็นเจ้าของอาคารที่มีผู้เช่ามากกว่า 10 ราย) 8.บริษัทเอกชน ห้างร้าน โรงแรม (รวมสำนักงานเขต)

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1

เตรียมความพร้อมของภาคีที่ปรึกษาและพัฒนาระบบข้อมูลกลางและการแสดงผลการจัดการขยะที่ต้นทาง

  1. จัดทำ data platform รวบรวมสื่อคู่มือ คลิป VDO ต่าง ๆ
  2. ประสานเตรียมความพร้อมของขยะแต่ละประเภท
  3. จัด Workshop ภาคีที่ปรึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
  4. GEPP เริ่มพัฒนาฐานข้อมูล dashboard และเก็บข้อมูล waste collectors
  5. ส่วนกลางออกแบบ platform การทำงานภายในและประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ
  6. นำเสนอผลการดำเนินโครงการจัดเวทีถอดบทเรียน

ระบบการจัดการข้อมูลขยะ

– รวบรวมข้อมูลวัสดุรีไซเคิลจากหลายๆ ระบบ
– ปรับข้อมูลให้เป็นพื้นฐานเดียวกัน เช่น คำเรียกประเภทวัสดุ เป็นต้น
– รวบรวมข้อมูลขยะประเภทอื่นๆ แต่ละประเภท ให้เข้าใจง่าย
– วิเคราะห์ ติดตามข้อมูลในภาพรวม และง่ายต่อการนำไปใช้งาน

ขอบเขตโครงการฯ

  1. พื้นที่เขตนำร่อง 2 เขต
  2. ระยะเวลาการดำเนินการ 15 เดือน
  3. จัดเก็บและระเบียบข้อมูลของร้านรับซื้อวัสดุรีไซเคิลในกรุงเทพฯ
  4. ข้อมูลจัดเก็บจาก
    1. แหล่งกำเนิดขยะ มากถึง 100 จุด (ในเขตนำร่อง)
    2. ฝ่ายจัดเก็บ (เขต)
    3. โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่, Start-up ที่จัดเก็บวัสดุรีไซเคิล

แนวทางการบันทึกข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลขยะ

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 และ 3 

ส่งเสริมแหล่งกำเนิดขยะสำคัญในเขตนำร่องปทุมวันและหนองแขมให้พัฒนาระบบรองรับการลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะ

  1. ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครแหล่งกำเนิดขยะเข้าร่วมโครงการ
  2. คัดเลือกแหล่งกำเนิดขยะที่เข้าร่วมโครงการ
  3. ภาคีที่ปรึกษาเริ่มทำงานกับแหล่งกำเนิดขยะตามแนวทางที่กำหนด
  4. ภาคีร่วมประชุมกับส่วนกลางเพื่อติดตามประเมินผลทุก 3 เดือน

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 4

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ ที่เขตหนองแขม โดยมีเป้าหมายกำจัดขยะอินทรีย์วันละ 1 ตัน

  1. จัดหาพื้นที่สำหรับสร้างศูนย์สาธิต และแหล่งเรียนรู้การกำจัดขยะอินทรีย์
  2. ออกแบบและจัดสร้างโรงเรือนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือนเพาะเลี้ยง และกำจัดขยะอินทรีย์
  3. ประสานความร่วมมือภาคบริการอาหารในการคัดแยกขยะอินทรีย์จากต้นทาง
  4. บริษัทเจเนซิสเอ็กซ์จำกัดจะเป็นผู้ดูแลการจ้างเจ้าหน้าที่และดำเนินการเพาะเลี้ยงหนอน
  5. จำหน่ายผลผลิต
  6. นำข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล
  7. เริ่มประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดรับการดูงานให้กับเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

สรุป

    โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน  โดยการจัดการขยะที่ต้นทาง สามารถช่วยลดภาระงบประมาณ สร้างรายได้  และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะที่ปลายทาง ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดขยะ การจัดการขยะด้วยข้อมูลสร้างผลประโยชน์ให้กับทั้งสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ภายในองค์กร ทั้งในเรื่องของการนำข้อมูลไปพัฒนาการจัดการขยะ หรือการนำข้อมูลขยะไปใช้เพื่อทำรายงานความยั่งยืน พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรหรือหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือใหญ่ โรงเรียน หมู่บ้าน หรือคนโด ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือโลกของเราได้ 

Categories
Knowledge

รายงานขยะมาตรฐาน GRI คืออะไร สำคัญอย่างไรกับการบริหารขยะระดับองค์กร

    ปัจจุบันการแยกขยะในองค์กรนั้นมีอุปสรรค์ในการรายงานข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ เนื่องจากปัญหาทางด้านต่างๆ เช่น ตัวชี้วัดที่ไม่ชัดเจน? การแยกขยะให้ถูกต้องตามหมวดหมู่? ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการแยกขยะ เป็นต้น 

    ซึ่งทำให้การจัดทำรายงานเพื่อให้สามารถนำไปใช้ต่อได้ในเชิงธุรกิจทำได้ยาก อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีมาตรฐานรองรับอีกด้วย โดยมาตรฐานที่มีการรองรับในระดับสากล คือ GRI306:2020 และการจะทำรายงานให้ตรงตามมาตรฐานของ GRI ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความหมายของ GRI ก่อน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ไปทำความรู้จักกับ GRI และ GEPP Platform ตัวช่วยให้การทำรายงานขยะง่ายขึ้น

GRI คือใคร

    GRI ย่อมาจากคำว่า Global Reporting Initiative เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจภาครัฐ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจสามารถทำความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ รวมถึงสื่อสารผลกระทบของภาคธุรกิจต่อประเด็นความยั่งยืน และวิธีการจัดการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และคอร์รัปชัน GRI ยังถือเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากมีตัวชี้วัดการรายงานที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และไม่ซับซ้อน เหมาะกับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกอุตสาหกรรม

มาตรฐาน GRI คืออะไร?

    มาตรฐาน GRI ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรใช้ในการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ

  1. ข้อมูลพื้นฐานการรายงาน (Universal Standards) ได้แก่ ข้อมูลบริษัท การกำกับดูแลกิจการ กลยุทธ์องค์กร ความเสี่ยง ประเด็นสำคัญของธุรกิจ (Material Aspects)และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis)

      2. ข้อมูลเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ(GRI200),  สิ่งแวดล้อม(GRI300) และ สังคม(GRI400)  (Topic-specific Standards)

GRI 306:2020 หรือ GRI 306: Waste 2020  คืออะไร

   GRI 306 (Waste) จัดเป็นกลุ่มย่อยของ GRI 300 ซึ่งเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม 1 ใน 3 ประเด็นหลัก จากมาตรฐานของ GRI ประกอบด้วย ข้อมูลเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ(GRI200),  สิ่งแวดล้อม(GRI300) และ สังคม(GRI400) ดังนั้น GRI 306: Waste จึงมีความสอดคล้องกันในเรื่องของการทำรายงานเพื่อความยั่งยืนเกี่ยวกับหัวข้อของการจัดการของเสีย เช่น การจัดการขยะ หรือการจัดการของเสีย เป็นต้น 

   ทั้งนี้หากต้องการทำรายงานที่ได้รับมาตรฐาน GRI 306:2020 ทาง Gepp Sa-Ard เรามีระบบการจัดการข้อมูลขยะแบบ Cloud-based โดย GEPP และ GEPP Application ที่ช่วยให้ง่ายต่อการทำรายงานขยะ สามารถเข้าถึงข้อมูล การจัดการขยะจากทุกที่และทุกเวลา จัดการขยะภายใน และภายนอกองค์กร โดยสามารถระบุแหล่งกำเนิด > แยกขยะและวัสดุ > ระบุการกำจัด > ข้อมูลและรายงาน โดยระบบจัดการข้อมูลขยะจาก GEPP ยังได้รับรองด้วยมาตรฐาน GRI 306: Waste 2020 ที่ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานสากลอีกด้วย สามารถติดต่อขอใช้เวอร์ชันทดลองได้แล้วที่นี่

รายงานด้านความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับรายงานขยะอย่างไร?

   การจัดทำรายงานความยั่งยืนของภาคธุรกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นเครื่องมือดึงดูดเเละกระตุ้นการลงทุนที่ยั่งยืน (sustainable investment) รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีกระบวนการผลิตสอดคล้องกับความยั่งยืนมากขึ้น

   การทำรายงานขยะนั้น จัดอยู่ในการเรื่องของการทำรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report) ในหัวข้อสิ่งแวดล้อม(GRI300) ซึ่งรายงานนี้เป็นเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่องค์กรจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ที่รายงานทางการเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสะท้อนข้อมูลผลประกอบการโดยรวม ได้อย่างครบถ้วน

ขั้นตอนการเขียนรายงานการยั่งยืนด้วยมาตรฐาน GRI

  1. Prepare – การเตรียมการภายในองค์กรให้พร้อม เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับฝ่ายจัดการเกี่ยวกับกระบวนการรายงานและขอบเขตประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
  2. Engage – ร่วมพูดคุย หารือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายนอก และภายในองค์กร ได้มีส่วนร่วมในประเด็นและผลกระทบด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
  3. Define – กำหนดเป้าหมายในการทำรายงานหลังจากที่ได้รับฟังเสียงสะท้อนในองค์กร และข้อแนะนำจากภายนอกองค์กร 
  4. Monitor – วัดผลและติดตามตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนที่สำคัญ และข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ 
  5. Communicate – ลงมือเขียนรายงาน เพื่อรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และศักยภาพด้าน เศรษฐกิจ ให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ

ทำรายงานขยะด้วย Gepp Platform

   เราเป็นตัวกลางให้เรื่องของข้อมูลเป็นเรื่องง่ายกับแพลตฟอร์มในการจัดการขยะสำหรับองค์กร เพียงกรอกข้อมูลของขยะในแต่ละครั้งที่ถูกจัดเก็บ ระบบจะประมวลผล และคุณสามารถดาวน์โหลดข้อมูลรายงานใช้ได้เลย ที่สำคัญจะอยู่ภายใต้มาตรฐาน GRI 306:2020 อย่างถูกต้อง ติดต่อเพื่อทดลองใช้ Gepp Platform ได้ที่นี่

ข้อดีของการทำรายงานขยะด้วย Gepp Platform ที่ได้รับมาตรฐาน GRI 306:2020

  1. ระบบบันทึกข้อมูลการคัดแยกขยะ
  2. ระบบประมวลข้อมูลเข้าสู่ระบบการรายงานผลตาม GRI 306:2020
  3. ระบบ export รายงานเป็นไฟล์ .pdf ได้เลย
  4. พร้อมรายงานการลดก๊าซเรือนกระจก และการลดปริมาณขยะฝังกลบ
  5. ช่วยจัดการขยะภายในองค์กรให้เป็นระเบียบ
  6. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะภายในองค์กร

ข้อควรรู้เกี่ยวกับ GRI Standard 

   KPMG Survey of Sustainability Reporting (เผยแพร่ 26 ตุลาคม) ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า การรายงานความยั่งยืนได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัท 250 อันดับแรกของโลกหรือที่รู้จักกันในชื่อ G250 เกือบทั้งหมดจัดทำรายงานความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน มีการรายงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจากกลุ่ม N100 เช่นกัน (บริษัท 100 อันดับแรกในแต่ละประเทศหรือเขตการปกครองที่นำมาวิเคราะห์)

จากผลการวิจัยในปี 2565 ค้นพบว่า:

  •  ปัจจุบัน 78% ของกลุ่ม G250 ใช้มาตรฐาน GRI สำหรับการรายงาน (เพิ่มขึ้นจาก 73% ในปี 2020)
  • 68% จาก 5,800 บริษัท N100 ใช้ GRI (เพิ่มขึ้นจาก 67% ในปี 2020 เมื่อ N100 มีขนาดตัวอย่างเล็กลง);
  • โดยรวมแล้ว 96% ของ G250 (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2020) และ 79% ของ N100 (77% ในปี 2020) รายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนหรือ ESG
  • มีการเปิดเผยข้อมูลการลดคาร์บอนอย่างกว้างขวาง (80% ของ G250 และ 71% ของ N100) – แต่ยังไม่ถึงครึ่ง (46% ของ G250, 40% ของ N100) รายงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
  • เกือบ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจ (74% ของ G250, 71% ของ N100) รายงานเกี่ยวกับ SDGs 
  • GRI นำเสนอมาตรฐานการรายงานเดียวที่ใช้โดยบริษัทส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจในทุกภูมิภาค (75% ในอเมริกา 68% ในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป 62% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา)

สรุป

   “รายงานการจัดการขยะ” มีประโยชน์อย่างมากทั้งด้านใช้บริหารจัดการขยะภายในองค์กร และยังเป็นรายงานเพื่อความยั่งยืนได้อีก ซึ่งมีความสำคัญต่อองค์กร และภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นเครื่องมือดึงดูดเเละกระตุ้นการลงทุนที่ยั่งยืน (sustainable investment) รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีกระบวนการผลิตสอดคล้องกับความยั่งยืนมากขึ้น 

   สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่มองหาโอกาสเพิ่มเงินทุน จำเป็นต้องทำรายงานเพื่อความยั่งยืน เพราะในปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืนมากขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) ของ UN โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว จะถูกใช้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางการพัฒนาทั้งของไทยและของโลกนับจากนี้จนถึงปี 2573

Categories
Knowledge

หยุดกรอก Excel! เปลี่ยนการรวบรวมข้อมูลขยะให้เป็นเรื่องง่าย ด้วย GEPP Platform

    การจัดการกับข้อมูลขยะเป็นเรื่องที่ยาก มีความซับซ้อนมาก โดยปกติแล้ววิธีที่เราจัดการกับข้อมูลขยะ ถ้าไม่จดใส่กระดาษ ก็กรอกเข้า Excel ซึ่งในบางครั้งก็เกิดปัญหาข้อมูลตกหล่นระหว่างทาง ทำให้การเก็บข้อมูลขยะอาจมีการคลาดเคลื่อนได้ไม่ตรงกับความเป็นจริง แต่จะดีกว่าไหม ถ้าหากมีเครื่องมือที่จะเข้ามาช่วยให้การจัดการข้อมูลขยะนั้นง่ายขึ้น GEPP Sa-Ard เราขอแนะนำให้รู้จักกับ GEPP Platform ระบบจัดบริการจัดการข้อมูลขยะ ที่ช่วยทำให้การจัดการข้อมูลขยะเป็นเรื่องง่าย

ข้อมูลขยะสำคัญอย่างไร?

    ข้อมูลขยะอาจฟังดูไกลตัวสำหรับครัวเรือน แต่กับภาคธุรกิจ การจัดการข้อมูลขยะนั้นสำคัญไม่น้อยไปกว่าขั้นตอนการจัดการขยะเอง เพราะถือเป็นการยกระดับมาตรฐานทั้งภายในและภายนอกองค์กร ที่ธุรกิจยุคใหม่จะมองข้ามไปไม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น การใช้รายงานความยั่งยืนเพื่อเป็นเอกสารประกอบสำหรับการเข้าสู่ตลาดทุน เพราะในปัจจุบันสถาบันการเงินต่างๆนั้น มีนโยบายให้บริษัทที่ต้องการเข้าถึงเงินทุนจัดทำเอกสารเรื่อง ESG เป็น SD Report หรือรายงานความยั่งยืน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบาย เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ธุรกิจของคุณนั้นเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น

      โดย GEPP Platform นั้นเป็นช่วยที่ทำให้การทำรายงานนั้นง่าย และได้มาตรฐาน เพียงแค่กรอกข้อมูลขยะผ่าน GEPP Platform ก็สามารถ Export เป็นไฟล์รายงานที่ได้รับมาตรฐาน GRI306:2020 ซึ่งเป็นมาตรฐานสากล ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก นอกจากนี้ข้อมูลขยะสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดการจัดการขยะให้ดีขึ้นได้ อีกทั้งยังลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาในการจัดการได้มากขึ้นอีกด้วย

GEPP Platform คืออะไร?

      คือ ระบบการจัดการข้อมูลขยะแบบ Cloud-based สามารถใช้งานได้ทุกที่ผ่าน Internet Browser ช่วยจัดการข้อมูลขยะ และวัสดุรีไซเคิล ที่ช่วยให้คุณสามารถจัดการข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ, นำเสนอข้อมูลขยะให้เข้าใจง่ายผ่าน Data Visualization, ติดตามปลายทางการจัดการขยะ (Traceability) ตลอดจนสามารถควบคุมดูแลงบประมาณที่ใช้ในการจัดการขยะได้อีกด้วย

GEPP Platform ช่วยให้การจัดการข้อมูลขยะง่ายขึ้นได้อย่างไร?

GEPP Sa-Ard เล็งเห็นถึงความสำคัญในการจัดการข้อมูลขยะที่คุณมีอยู่ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด

ข้อมูลเป็นระบบ

GEPP Platform แบ่งข้อมูลขยะที่นำเข้าระบบออกจากกันตามประเภทของการจัดการขยะเช่น ขยะรีไซเคิล ขยะที่ต้องนำไปฝังกลบ ช่วยให้คุณสามารถลดระยะเวลาจัดการข้อมูลที่วุ่นวายได้อย่างมาก

Data Visualization

ลดขั้นตอน วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล ที่อาจเกิด Human Error ลง ด้วยระบบประมวณผลและแสดงผลข้อมูลขยะในรูปแบบ Data Visualization ที่เข้าใจง่ายผ่าน Dashboard

One Click Report

รายงานขยะต้องทำอย่างไร? คือปัญหาคลาสสิคที่ลูกค้าของเราพบเจอ แต่ปัญหานี้จะหมดไปเพราะ GEPP Platform  ช่วยให้คุณสามารถสร้างรายงานรูปแบบมาตรฐาน (Standard Report) ได้ง่ายเพียงคลิกเดียว และเรายังได้รับการจดสิทธิบัตรรับรองการทำรายงานมาตรฐาน GRI ที่ผ่านการรับรองเพียงรายเดียวในประเทศไทย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อมูลของเราได้รับการตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการของเสียเพื่อให้คุณได้รับรายงานที่มีข้อมูลถูกต้องแม่นยำ

ติดตามสถานะของขยะรีไซเคิลด้วย GEPP Platform

        ด้วย GEPP Platform คุณสามารถติดตามปลายทางของขยะรีไซเคิลที่ส่งเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล หรือการฝังกลบ ผ่านระบบ Traceability  ที่สามารถตรวจสอบได้ว่าปลายทางที่ขยะจะไปถึงนั้นอยู่ที่ไหน ป้องกันการฟอกเขียว (greenwashing) หรือก็คือ การสร้างภาพลักษณ์ว่าเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ไม่ได้มีการลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมจริง

บริการอื่นๆด้านการจัดการขยะจาก GEPP Sa-Ard 

   GEPP เราผลักดันการจัดการขยะด้วย “ข้อมูล” เราทำให้กระบวนการรีไซเคิลและการจัดการขยะมีปลายทางที่ถูกต้องและตรวจสอบได้ ด้วยระบบข้อมูลที่เรามีจะสามารถทำให้เรามีการคัดแยกขยะได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ GEPP Sa-Ard เรายังมีบริการอื่นๆ ที่จะคอยสนับสนุนเรื่องการจัดการขยะอย่างเต็มรูปแบบ 

อบรมให้ความรู้และระบบดูแลจัดการข้อมูลขยะ

   การจัดการขยะที่ดีเริ่มต้นด้วย “การรู้จักขยะของคุณ” และรู้จัก หลักการคัดแยกขยะที่พร้อมประยุกต์ใช้ในชีวิตของคุณทั้งที่ทำงาน และในบ้านของคุณเอง

การดำเนินโครงการเพื่อ “การบริหารจัดการขยะ”

GEPP ช่วยคุณด้วยประสบการณ์ในการร่วมผลักดันโครงการเพื่อ การจัดการขยะ ที่เราสามารถวัดผลได้ชัดเจน

บริการจัดเก็บ และการติดตามปลายทางของขยะ

     GEPP ผสมผสานระบบขนส่งและการทำงานร่วมในเครือข่ายทั้งผู้รับซื้อวัสดุรีไซเคิลจนถึงบริษัท ซึ่งเป็นผู้รีไซเคิลเพื่อให้เราสามารถติดตามวัสดุทุกชิ้นว่าได้ถูกนำไปรีไซเคิลหรือไม่

ทดลองการจัดการข้อมูล ด้วย GEPP Platform

สำหรับคนที่มีความสนใจอยากทดลองใช้ สามารถติดต่อได้ที่ลิงก์นี้ เพื่อทดลองใช้ได้เลย ฟรี!

  • ได้รับมาตรฐานการจัดการขยะโดย GEPP
  • ให้คำปรึกษาในจัดการขยะ
  • สอนการใช้งานระบบ GEPP ผ่านระบบออนไลน์
  • การให้คำปรึกษาในระบบออนไลน์ตลอดการทดลองผ่านระบบออนไลน์โดยผู้เชี่ยวชาญจาก GEPP

หากมีคำถามเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้

Tel. : 06-4043-7166

Email : [email protected]

Line : คลิกเพื่อแอดไลน์