ลด และ แยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน

     “ขยะไม่ใช่ผู้ร้าย” แต่การจัดการต่างหากที่ส่งผลให้ขยะเป็นผู้ร้าย ขยะจะกลายเป็นสิ่งที่มีมูลค่า หรือจะกลายเป็นมลพิษ ขยะเหล่านี้สามารถเป็นได้ทุกอย่าง ทั้งวัสดุรีไซเคิล ปุ๋ย หรือแม้กระทั่งพลังงาน ทุกอย่างเริ่มต้นที่การจัดการขยะที่ต้นทาง สามารถช่วยลดภาระงบประมาณ สร้างรายได้ อีกทั้งยังลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะที่ปลายทาง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดขยะอีกด้วย

   กทม. สสส. และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคีเครือข่าย ได้จัดทำโครงการพัฒนาเขตนำร่องการจัดการขยะมูลฝอยที่ต้นทางอย่างยั่งยืนในกรุงเทพมหานคร จัดขึ้นภายใต้แนวคิดการจัดการขยะเหลือศูนย์ (Zero-waste), แนวคิดโรงเรียนปลอดขยะ (Zero-waste school), แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy), แนวคิดสำนักงานสีเขียว (Green office)  โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่ มกราคม 2566 ถึง มีนาคม 2567

 

มีวัตถุประสงค์โครงการ ดังนี้

  1. พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภทและระบบข้อมูลกลาง
    พัฒนาระบบการจัดเก็บขยะแบบแยกประเภท, ระบบข้อมูลกลางและการแสดงผล, การจัดการขยะที่ต้นทางในเขตนำร่อง ปทุมวัน และหนองแขม
  2. ส่งเสริมแหล่งกำเนิดลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะ
    ส่งเสริมแหล่งกำเนิดขยะสำคัญในเขตปทุมวันและหนองแขม ได้แก่ โรงเรียน วัด ชุมชน (หมู่บ้านจัดสรร, คอนโดมิเนียม) อาคารสำนักงาน โรงแรม เป็นต้น (ไม่น้อยกว่า 42 องค์กรต่อเขต) ให้เข้าใจและรับรู้ในการแยกขยะจากต้นทาง
  3. พื้นที่ต้นแบบการกำจัดขยะอินทรีย์
    – มีปลายทางรองรับขยะอินทรีย์โดยเฉพาะขยะอาหารจากแหล่งกำเนิดขยะ ในเขตหนองแขมขนาด 1 ตันต่อวัน
    – กรุงเทพมหานครมีศูนย์สาธิตและแหล่งเรียนรู้การกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ

ประโยชน์ที่ได้รับจากการจัดการขยะจากต้นทาง

  1. สร้างภาพลักษณ์การเป็นองค์กร/หน่วยงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสามารถนำไปใช้ในการสื่อสารด้านความยั่งยืนขององค์กร (สำหรับผู้ประกอบการ ถือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์)
  2. ลดค่าใช้จ่าย 1) ลดค่ากำจัดขยะ 2) ลดการซื้อวัตถุดิบจากการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและหมุนเวียนทรัพยากร
    เช่น การทำปุ๋ยหมักจากเศษอาหารมาปลูกผัก ทำให้ไม่ต้องซื้อผักและได้วัตถุดิบปลอดภัยไร้สารพิษ การทำน้ำยาอเนกประสงค์จากเปลือกผลไม้ เป็นต้น
  3. เพิ่มรายได้จากการขายวัสดุที่ผ่านการคัดแยก
  4. แบ่งปันทรัพยากรให้กับชุมชนรอบข้าง

สิ่งที่องค์กรจะได้รับจากโครงการ

  1. ค่าที่ปรึกษาช่วยจัดอบรมเรื่องการจัดการขยะให้กับคนในองค์กรและให้ความรู้และคำแนะนำแก่คณะทำงาน (ตลอดโครงการ ไม่มีค่าใช้จ่าย)
  2. เชื่อมต่อปลายทางของขยะและวัสดุประเภทต่างๆ ทั้งกรุงเทพมหานครและภาคเอกชน
  3. ได้รับการสนับสนุนป้าย สติ๊กเกอร์ สื่อรณรงค์และวัสดุอุปกรณ์ส่งเสริมการลดและคัดแยกขยะ (ตามวงเงินที่กำหนด)
  4. สนับสนุนค่าอาหารว่างจัดประชุม ค่าของที่ระลึกหรือของรางวัลให้กับผู้เข้ารับการอบรม (ตามวงเงินที่กำหนด)
  5. นำข้อมูลการจัดการขยะขององค์กรจาก GEPP Platform ไปใช้จัดทำรายงานหรือนำเสนอเพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กร โดย platform จะมีการคำนวณการลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการจัดการขยะด้วยหลักการโครงการ LESS
  6. แสดงข้อมูลหน่วยงาน/องค์รในเขตนำร่องที่มีการดำเนินการลดและคัดแยกขยะ ในเว็บไซต์โครงการของ กทม.
  7. ได้รับใบประกาศเกียรติคุณจากกรุงเทพมหานคร

ประเภทแหล่งกำเนิดขยะที่รับสมัคร
1. สถานศึกษา (สังกัด สพฐ. โรงเรียนเอกชน วิทยาลัย มหาวิทยาลัย) 2.ชุมชนแออัด 3.ชุมชนเมือง (ตึกแถว) 4.ชุมชนหมู่บ้านจัดสรร 5.ชุมชนอาคารสูง (คอนโด แฟลต อพารท์เม้นท์) 6.วัด 7.อาคารสำนักงาน (เฉพาะบริษัทที่เป็นเจ้าของอาคารที่มีผู้เช่ามากกว่า 10 ราย) 8.บริษัทเอกชน ห้างร้าน โรงแรม (รวมสำนักงานเขต)

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 1

เตรียมความพร้อมของภาคีที่ปรึกษาและพัฒนาระบบข้อมูลกลางและการแสดงผลการจัดการขยะที่ต้นทาง

  1. จัดทำ data platform รวบรวมสื่อคู่มือ คลิป VDO ต่าง ๆ
  2. ประสานเตรียมความพร้อมของขยะแต่ละประเภท
  3. จัด Workshop ภาคีที่ปรึกษาที่เข้าร่วมโครงการ
  4. GEPP เริ่มพัฒนาฐานข้อมูล dashboard และเก็บข้อมูล waste collectors
  5. ส่วนกลางออกแบบ platform การทำงานภายในและประชาสัมพันธ์การดำเนินโครงการ
  6. นำเสนอผลการดำเนินโครงการจัดเวทีถอดบทเรียน

ระบบการจัดการข้อมูลขยะ

– รวบรวมข้อมูลวัสดุรีไซเคิลจากหลายๆ ระบบ
– ปรับข้อมูลให้เป็นพื้นฐานเดียวกัน เช่น คำเรียกประเภทวัสดุ เป็นต้น
– รวบรวมข้อมูลขยะประเภทอื่นๆ แต่ละประเภท ให้เข้าใจง่าย
– วิเคราะห์ ติดตามข้อมูลในภาพรวม และง่ายต่อการนำไปใช้งาน

ขอบเขตโครงการฯ

  1. พื้นที่เขตนำร่อง 2 เขต
  2. ระยะเวลาการดำเนินการ 15 เดือน
  3. จัดเก็บและระเบียบข้อมูลของร้านรับซื้อวัสดุรีไซเคิลในกรุงเทพฯ
  4. ข้อมูลจัดเก็บจาก
    1. แหล่งกำเนิดขยะ มากถึง 100 จุด (ในเขตนำร่อง)
    2. ฝ่ายจัดเก็บ (เขต)
    3. โครงการต่าง ๆ ในพื้นที่, Start-up ที่จัดเก็บวัสดุรีไซเคิล

แนวทางการบันทึกข้อมูล และการนำเสนอข้อมูลขยะ

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 2 และ 3 

ส่งเสริมแหล่งกำเนิดขยะสำคัญในเขตนำร่องปทุมวันและหนองแขมให้พัฒนาระบบรองรับการลดการสร้างขยะและคัดแยกขยะ

  1. ประชาสัมพันธ์เปิดรับสมัครแหล่งกำเนิดขยะเข้าร่วมโครงการ
  2. คัดเลือกแหล่งกำเนิดขยะที่เข้าร่วมโครงการ
  3. ภาคีที่ปรึกษาเริ่มทำงานกับแหล่งกำเนิดขยะตามแนวทางที่กำหนด
  4. ภาคีร่วมประชุมกับส่วนกลางเพื่อติดตามประเมินผลทุก 3 เดือน

ขั้นตอนการดำเนินงาน กิจกรรมที่ 4

พัฒนาพื้นที่ต้นแบบการกำจัดขยะอินทรีย์ด้วยการเลี้ยงหนอนแมลงทหารดำ ที่เขตหนองแขม โดยมีเป้าหมายกำจัดขยะอินทรีย์วันละ 1 ตัน

  1. จัดหาพื้นที่สำหรับสร้างศูนย์สาธิต และแหล่งเรียนรู้การกำจัดขยะอินทรีย์
  2. ออกแบบและจัดสร้างโรงเรือนและจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ภายในโรงเรือนเพาะเลี้ยง และกำจัดขยะอินทรีย์
  3. ประสานความร่วมมือภาคบริการอาหารในการคัดแยกขยะอินทรีย์จากต้นทาง
  4. บริษัทเจเนซิสเอ็กซ์จำกัดจะเป็นผู้ดูแลการจ้างเจ้าหน้าที่และดำเนินการเพาะเลี้ยงหนอน
  5. จำหน่ายผลผลิต
  6. นำข้อมูลที่จัดเก็บมาวิเคราะห์ข้อมูลและประเมินผล
  7. เริ่มประชาสัมพันธ์เพื่อเปิดรับการดูงานให้กับเกษตรกร องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนทั่วไปที่สนใจ

สรุป

    โครงการนี้จัดทำขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน  โดยการจัดการขยะที่ต้นทาง สามารถช่วยลดภาระงบประมาณ สร้างรายได้  และลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากการกำจัดขยะที่ปลายทาง ทำให้ช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการกำจัดขยะ การจัดการขยะด้วยข้อมูลสร้างผลประโยชน์ให้กับทั้งสิ่งแวดล้อม และผลประโยชน์ภายในองค์กร ทั้งในเรื่องของการนำข้อมูลไปพัฒนาการจัดการขยะ หรือการนำข้อมูลขยะไปใช้เพื่อทำรายงานความยั่งยืน พร้อมสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับองค์กรหรือหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นองค์กรขนาดเล็ก หรือใหญ่ โรงเรียน หมู่บ้าน หรือคนโด ก็สามารถร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือโลกของเราได้ 

Relate Content

Tips & Trick จัดการข้อมูลขยะระดับองค์กร และการนำไปใช้
GEPP Sa-Ard X SINGHA แยกแลกเงินกับโครงการ เก็บ “Save” โลก
ลด และ แยกขยะที่ต้นทาง เพื่อแก้ไขปัญหาขยะอย่างยั่งยืน