ปัจจุบันการแยกขยะในองค์กรนั้นมีอุปสรรค์ในการรายงานข้อมูลขยะอย่างเป็นระบบ เนื่องจากปัญหาทางด้านต่างๆ เช่น ตัวชี้วัดที่ไม่ชัดเจน? การแยกขยะให้ถูกต้องตามหมวดหมู่? ไม่มีความเข้าใจในเรื่องของการแยกขยะ เป็นต้น
ซึ่งทำให้การจัดทำรายงานเพื่อให้สามารถนำไปใช้ต่อได้ในเชิงธุรกิจทำได้ยาก อีกทั้งยังจำเป็นต้องมีมาตรฐานรองรับอีกด้วย โดยมาตรฐานที่มีการรองรับในระดับสากล คือ GRI306:2020 และการจะทำรายงานให้ตรงตามมาตรฐานของ GRI ได้ ไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจความหมายของ GRI ก่อน จำเป็นต้องใช้ข้อมูลอะไรบ้าง ไปทำความรู้จักกับ GRI และ GEPP Platform ตัวช่วยให้การทำรายงานขยะง่ายขึ้น
GRI คือใคร
GRI ย่อมาจากคำว่า Global Reporting Initiative เป็นองค์กรอิสระระหว่างประเทศที่ช่วยเหลือให้องค์กรธุรกิจภาครัฐ หรือองค์กรอื่น ๆ ที่สนใจสามารถทำความเข้าใจและสื่อสารผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนของภาคธุรกิจ รวมถึงสื่อสารผลกระทบของภาคธุรกิจต่อประเด็นความยั่งยืน และวิธีการจัดการ เช่น การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สิทธิมนุษยชน และคอร์รัปชัน GRI ยังถือเป็นกรอบการรายงานความยั่งยืนที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในขณะนี้ เนื่องจากมีตัวชี้วัดการรายงานที่เข้าใจง่าย ชัดเจน และไม่ซับซ้อน เหมาะกับองค์กรทุกประเภท ทุกขนาด และทุกอุตสาหกรรม
มาตรฐาน GRI คืออะไร?

มาตรฐาน GRI ออกแบบมาเพื่อให้องค์กรใช้ในการรายงานเกี่ยวกับผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ
- ข้อมูลพื้นฐานการรายงาน (Universal Standards) ได้แก่ ข้อมูลบริษัท การกำกับดูแลกิจการ กลยุทธ์องค์กร ความเสี่ยง ประเด็นสำคัญของธุรกิจ (Material Aspects)และการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย (Stakeholder Analysis)
2. ข้อมูลเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ(GRI200), สิ่งแวดล้อม(GRI300) และ สังคม(GRI400) (Topic-specific Standards)
GRI 306:2020 หรือ GRI 306: Waste 2020 คืออะไร
GRI 306 (Waste) จัดเป็นกลุ่มย่อยของ GRI 300 ซึ่งเป็นประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม 1 ใน 3 ประเด็นหลัก จากมาตรฐานของ GRI ประกอบด้วย ข้อมูลเฉพาะที่ครอบคลุมประเด็นเศรษฐกิจ(GRI200), สิ่งแวดล้อม(GRI300) และ สังคม(GRI400) ดังนั้น GRI 306: Waste จึงมีความสอดคล้องกันในเรื่องของการทำรายงานเพื่อความยั่งยืนเกี่ยวกับหัวข้อของการจัดการของเสีย เช่น การจัดการขยะ หรือการจัดการของเสีย เป็นต้น
ทั้งนี้หากต้องการทำรายงานที่ได้รับมาตรฐาน GRI 306:2020 ทาง Gepp Sa-Ard เรามีระบบการจัดการข้อมูลขยะแบบ Cloud-based โดย GEPP และ GEPP Application ที่ช่วยให้ง่ายต่อการทำรายงานขยะ สามารถเข้าถึงข้อมูล การจัดการขยะจากทุกที่และทุกเวลา จัดการขยะภายใน และภายนอกองค์กร โดยสามารถระบุแหล่งกำเนิด > แยกขยะและวัสดุ > ระบุการกำจัด > ข้อมูลและรายงาน โดยระบบจัดการข้อมูลขยะจาก GEPP ยังได้รับรองด้วยมาตรฐาน GRI 306: Waste 2020 ที่ถูกยอมรับเป็นมาตรฐานสากลอีกด้วย สามารถติดต่อขอใช้เวอร์ชันทดลองได้แล้วที่นี่
รายงานด้านความยั่งยืนเกี่ยวข้องกับรายงานขยะอย่างไร?
การจัดทำรายงานความยั่งยืนของภาคธุรกิจนับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะถือเป็นเครื่องมือดึงดูดเเละกระตุ้นการลงทุนที่ยั่งยืน (sustainable investment) รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีกระบวนการผลิตสอดคล้องกับความยั่งยืนมากขึ้น
การทำรายงานขยะนั้น จัดอยู่ในการเรื่องของการทำรายงานเพื่อความยั่งยืน (Sustainability Report) ในหัวข้อสิ่งแวดล้อม(GRI300) ซึ่งรายงานนี้เป็นเอกสารที่เปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม ที่องค์กรจัดทำขึ้นเพื่อสนองความต้องการของผู้ถือหุ้น ลูกค้า ชุมชน และผู้มีส่วนได้เสียอื่น ที่รายงานทางการเงินเพียงอย่างเดียวไม่สามารถสะท้อนข้อมูลผลประกอบการโดยรวม ได้อย่างครบถ้วน
ขั้นตอนการเขียนรายงานการยั่งยืนด้วยมาตรฐาน GRI
- Prepare – การเตรียมการภายในองค์กรให้พร้อม เพื่อการจัดทำแผนปฏิบัติการร่วมกับฝ่ายจัดการเกี่ยวกับกระบวนการรายงานและขอบเขตประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืน
- Engage – ร่วมพูดคุย หารือกับผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายนอก และภายในองค์กร ได้มีส่วนร่วมในประเด็นและผลกระทบด้านความยั่งยืนที่สำคัญ
- Define – กำหนดเป้าหมายในการทำรายงานหลังจากที่ได้รับฟังเสียงสะท้อนในองค์กร และข้อแนะนำจากภายนอกองค์กร
- Monitor – วัดผลและติดตามตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพด้านความยั่งยืนที่สำคัญ และข้อมูลที่ได้ต้องมีคุณภาพ มีความน่าเชื่อถือ
- Communicate – ลงมือเขียนรายงาน เพื่อรายงานด้านสิ่งแวดล้อม และศักยภาพด้าน เศรษฐกิจ ให้ผู้มีส่วนได้เสียรับทราบ
ทำรายงานขยะด้วย Gepp Platform

เราเป็นตัวกลางให้เรื่องของข้อมูลเป็นเรื่องง่ายกับแพลตฟอร์มในการจัดการขยะสำหรับองค์กร เพียงกรอกข้อมูลของขยะในแต่ละครั้งที่ถูกจัดเก็บ ระบบจะประมวลผล และคุณสามารถดาวน์โหลดข้อมูลรายงานใช้ได้เลย ที่สำคัญจะอยู่ภายใต้มาตรฐาน GRI 306:2020 อย่างถูกต้อง ติดต่อเพื่อทดลองใช้ Gepp Platform ได้ที่นี่
ข้อดีของการทำรายงานขยะด้วย Gepp Platform ที่ได้รับมาตรฐาน GRI 306:2020
- ระบบบันทึกข้อมูลการคัดแยกขยะ
- ระบบประมวลข้อมูลเข้าสู่ระบบการรายงานผลตาม GRI 306:2020
- ระบบ export รายงานเป็นไฟล์ .pdf ได้เลย
- พร้อมรายงานการลดก๊าซเรือนกระจก และการลดปริมาณขยะฝังกลบ
- ช่วยจัดการขยะภายในองค์กรให้เป็นระเบียบ
- ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการขยะภายในองค์กร
ข้อควรรู้เกี่ยวกับ GRI Standard
KPMG Survey of Sustainability Reporting (เผยแพร่ 26 ตุลาคม) ผลการสำรวจล่าสุดเปิดเผยว่า การรายงานความยั่งยืนได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัท 250 อันดับแรกของโลกหรือที่รู้จักกันในชื่อ G250 เกือบทั้งหมดจัดทำรายงานความยั่งยืน ในขณะเดียวกัน มีการรายงานเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจากกลุ่ม N100 เช่นกัน (บริษัท 100 อันดับแรกในแต่ละประเทศหรือเขตการปกครองที่นำมาวิเคราะห์)
จากผลการวิจัยในปี 2565 ค้นพบว่า:
- ปัจจุบัน 78% ของกลุ่ม G250 ใช้มาตรฐาน GRI สำหรับการรายงาน (เพิ่มขึ้นจาก 73% ในปี 2020)
- 68% จาก 5,800 บริษัท N100 ใช้ GRI (เพิ่มขึ้นจาก 67% ในปี 2020 เมื่อ N100 มีขนาดตัวอย่างเล็กลง);
- โดยรวมแล้ว 96% ของ G250 (ไม่เปลี่ยนแปลงจากปี 2020) และ 79% ของ N100 (77% ในปี 2020) รายงานเกี่ยวกับความยั่งยืนหรือ ESG
- มีการเปิดเผยข้อมูลการลดคาร์บอนอย่างกว้างขวาง (80% ของ G250 และ 71% ของ N100) – แต่ยังไม่ถึงครึ่ง (46% ของ G250, 40% ของ N100) รายงานเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ
- เกือบ 3 ใน 4 ของผู้ตอบแบบสำรวจ (74% ของ G250, 71% ของ N100) รายงานเกี่ยวกับ SDGs
- GRI นำเสนอมาตรฐานการรายงานเดียวที่ใช้โดยบริษัทส่วนใหญ่ที่ทำการสำรวจในทุกภูมิภาค (75% ในอเมริกา 68% ในเอเชียแปซิฟิกและยุโรป 62% ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา)
สรุป
“รายงานการจัดการขยะ” มีประโยชน์อย่างมากทั้งด้านใช้บริหารจัดการขยะภายในองค์กร และยังเป็นรายงานเพื่อความยั่งยืนได้อีก ซึ่งมีความสำคัญต่อองค์กร และภาคธุรกิจเป็นอย่างมาก เพราะถือเป็นเครื่องมือดึงดูดเเละกระตุ้นการลงทุนที่ยั่งยืน (sustainable investment) รวมถึงช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคที่มีแนวโน้มให้ความสำคัญกับการเลือกใช้สินค้า และบริการที่มีกระบวนการผลิตสอดคล้องกับความยั่งยืนมากขึ้น
สำหรับองค์กรหรือธุรกิจที่มองหาโอกาสเพิ่มเงินทุน จำเป็นต้องทำรายงานเพื่อความยั่งยืน เพราะในปัจจุบันตลาดเงินตลาดทุนทั่วโลกได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการลงทุนที่ยั่งยืนมากขึ้น สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาความยั่งยืน (Sustainable Development Goals:SDGs) ของ UN โดยเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนดังกล่าว จะถูกใช้เป็นเครื่องกำหนดทิศทางการพัฒนาทั้งของไทยและของโลกนับจากนี้จนถึงปี 2573